• บอกความหมายและความสําคัญของคําว่า “ทรัพย สินทางปัญญา” ได้
• จําแนกประเภทของการปกป้องทรัพย สินทางปัญญาที่สําคัญได้
• บอกความหมายของ “ลิขสิทธิ์” ได้
• บอกความหมายของ “เครื่องหมายการค่า” ได้
• บอกความหมายของ “ความลับทางการค่า” ได้
• บอกความหมายของ “สิทธิบัตร” ได้
ทรัพย สินทางปCญญา (Intellectual Property )
ความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทําให้เกิดมีค่าขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัย หนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่ การที่ผู้ใด หรือคณะบุคคลใด ร่วมกัน ประดิษฐ์ คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมี คุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ ได้ทั้งงาน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property)
• เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
• โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่ เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมสามารถแบ่งประเภทออกได้ดังนี้
1.1 สิทธิบัตร (Patent)
• บัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตร มีสิทธิ์ เด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการ แสวงหาประโยชน์ จากการประดิษฐ์
1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
• เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ
• อาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ตรา ชื่อคําข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันก็ได้ ใช้เพื่อ แสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่น
• อาจกล่าวได้ว่า คือ ตราสินค้า หรือ ยี่ห้อสินค้า
1.3 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
• ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่ง โดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นําไปใช้ ประโยชน์ทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของ หรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสม รักษาไว้เป็นความลับ
“ข้อมูลทางธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย”
• ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียน ความลับทางการค้าก็ได้ โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ใด เช่น
- ความลับในการผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง
- ความลับในการผลิตน้ําพริก
• ซึ่งผู้อื่นที่มิใช้เจ้าของความลับจะทราบคร่าวๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลักคือ อะไรแต่ไม่ทราบรายละเอียดจริง
1.4 ชื่อทางการค้า (Trade Name)
• ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
• เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ โกดัก ฟูจิ เป็นต้น
1.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
• สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์
• สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร นั้นเป็นสินค้าที่มี คุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น
• เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น
2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
• ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และ ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น "ทรัพย์สิน ทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีคุณค้าทางเศรษฐกิจ
• ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทาง มรดก หรือ โดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทําเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทําเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
• งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
• งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรํา การเต้น การทําทำา หรือ การแสดง ที่ประกอบขึ้นเป็น เรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้
• งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพ ประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์ และรวมทั้งภาพถ่าย และแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
• งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทํานอง และรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและ เรียบเรียงเสียงประสาน
• งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ ดิสก เป็นต้น
• งานภาพยนตร์
• งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก เป็นต้น
• งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การนําออกเผยแพร่ทางสถานีกระจายเสียง หรือโทรทัศน์
• งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือ แผนกศิลปะ
สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
• ข่าวประจําวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
• รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
• ประกาศ คําสั่ง ระเบียบ คําชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
• คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
• คําแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น จัดทําขึ้น
– คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น
– กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติ ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็น ภาคีอยู่ด้วย
– กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทําขึ้นใน ราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ
– กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
– มีสิทธิ์ในการทําซ้ํา ดัดแปลง จําหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทํา สําเนา
– การทําให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
• งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
• กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์ อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
• ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
• การปลอมแปลง เป็นการผลิตที่มีการใช้วัสดุ รูปลักษณ ตราสินค้าที่ เหมือนกับของเจ้าของทุกประการโดยที่ผู้ซื้ออาจแยกไม่ออกว่าเป็นของ จริงหรือไม่ ดังที่เราพบเห็นกันในท้องตลาด เช่น การปลอมนาฬิกาโร เล็กซ์ เสื้อโปโล กระเป๋าหลุยส วิตตอง, สินค้าของ Dior เป็นต้น
• การลอกเลียนแบบ โดยที่ตัวสินค้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้าของ เจ้าของผู้ผลิตแต่มีการปรับเครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น PRADA เป็น PRADO , Sony เป็น Somy เป็นต้น
• การลักลอบผลิต คือ การลักลอบผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน ซึ่งเราได้พบ เห็นข่าวการลักลอบผลิตอยู่เป็นประจํา เช่น ซีดีภาพยนตร เรื่องต้มยํา กุ้งที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว
• สําหรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางด้านซอฟต์แวร์(Software Piracy)