ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม
2. ความสัมพันธ์ ของหลักทางศีลธรรม
3. เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของ “ปรัชญา” ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการ ปฏิบัติตนของมนุษย ที่อยู่ร่วมกัน
4. หลักการประพฤติปฏิบัตินั้นได้กระทำสืบเนื่องกันเรื่อยมาจากอดีต
5. บุคคลใดที่ประพฤติตนตามหลักจริยธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นจะถือว่าบุคคลนั้นประพฤติตนได้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคมที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
6. แต่หากบุคคลใดมีพฤติกรรมที่ขัดกับหลักจริยธรรม จะถูกต่อต้านโดยบุคคลอื่นในสังคมความหมายของจริยธรรม
ความหมายของจริยธรรม
ธรรม หมายถึง ธรรมชาติของมนุษยที่มีกายวาจาเป็นสื่อภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ตัวอย่างผู้มีจริยธรรม
1. ผู้ที่มีกิริยาวาจาสุภาพ เรียบร้อย อ้อนน้อมถ่อมตน
2. การแสดงออกทางกาย เช่น แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
3. ไม่แสดงกิริยากระด้าง กระเดื่อง
4. ใช้วาจาสุภาพอ่อนโยน
5. ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ความหมายของจรรณยาบรรณ
จรรณยาบรรณ
เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ
จริยธรรมทางธุรกิจ
หลักและมาตรฐานด้านศีลธรรม ที่ชี้นำพฤติกรรมในโลกธุรกิจเพื่อการ
ตัดสินใจของแต่ละบุคคลภายในบทบาทขององค์การภายใต้ข้อขัดแย่งระหว่างวัตถุประสงค์และค่านิยม
การนำหลักธรรมจริยธรรมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องชี้นำกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร
เป็นบทเรียนให้องค์กรหันมาให้ความสนใจในด้านนี้มากขึ้นโดยให้เหตุผลว่า
หากองค ์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้
1. ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้น
2. การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน
3. เพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ
4. ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย
5. หลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบได้
การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร
1. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร
2. กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม
3. กำหนดจรรณยาบรรณขององค์กร
4. ให้มีการตรวจสอบทางสังคม
5. กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน
จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม
แนวโน้มของเทคโนโลยีที่สำคัญได้แก่
1. ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น
2. ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล
3. ความก้าวหน้าในการวิเคราะห ์ข้อมูล
4. ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเทอร ์เน็ต
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม
ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีอินเทอร เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ทำให้หลายองค์กรมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเหมาะสม การรักษาความลับของลูกค้า ตลอดจนการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงประเด็นการหาผู้รับผิดชอบเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้ระบบสารสนเทศในทางที่ผิดด้วย
อีกทั้งยังพบพฤติกรรมหลายอย่างที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หลายกลุ่มกระทำกันอย่างกว้างขวาง โดยไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรม เช่น
• ผู้ใช้อินเทอร์ เน็ตหลายล้านคนในโลก นิยมใช้เครือข่ายประเภท Peer-to-Peer ในการอัพโหลดและดาวน์ โหลดเพลง ภาพยนตร์ และซอฟต์แวร ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นั่นคือการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
• หลายองค ์กรนิยมใช้วิธีการโฆษณาสินค้าด้วยการส่งอีเมล ในลักษณะ Spam Mail ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ได้รับอีเมล ถึงแม้ว่าการโฆษณาด้วยวิธีนี้จะมีต้นทุนน้อยมากก็ตาม
• นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถดาวน์ โหลด E-Book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถดาวน์ โหลดเอกสารประกอบการเรียนได้จากอินเทอร เน็ต
จะเห็นว่าพฤติกรรมข้างต้นล้วนหมิ่นเหม่และเข้าข่ายผิดกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์
โดยพฤติกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นจากการขาดจิตสำนึกและขาดจริยธรรมของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกิดความขัดแย้งระหว่างจริยธรรมและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที
1. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต ์แวร ์
2. การใช้งานคอมพิวเตอร์ อย่างไม่เหมาะสม
3. การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ทำอันตรายต่อผู้อื่น
2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์
3. ต้องไม่สอดแนมไฟล์คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการลักขโมย
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกหรือใช่ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม
8. ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
9. ต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเอง
เขียนหรือกำลังออกแบบอยู่เสมอ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่พิจารณาดีแล้วว่าเหมาะสม และ
เคารพต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกันเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น